การนอนหลับยามค่ำคืน

“การนอนหลับยามค่ำคืน” 

จากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย


1. การผ่อนคลาย ให้สงบทั้งใจและกาย สำคัญกว่า การพยายามบังคับให้นอนหลับโดยกินยา


2. การพักผ่อน กับ การผ่อนคลายไม่เหมือนกัน เพราะ การพักผ่อนบางอย่างคือการลดการทำงาน ไม่ใช่การผ่อนคลาย การผ่อนคลายต้องเหมือนน้ำในแก้วที่นิ่งสงบ ไม่มีคลื่น


แต่การพักผ่อนอาจเพิ่มความคิด(มาก) ความเครียด และความกดดัน ด้วยซ้ำ เช่น การพักผ่อนโดยการเล่น ไลน์ หรือ โซเชียลมีเดีย เช่น facebook หลายครั้ง เล่นไปเล่นมา กลับเครียด หรือใจคอไม่สงบ เพราะ เกิด ดราม่าขึ้นในใจอย่างมากมาย


3. หลับ หรือ ไม่หลับ ไม่สำคัญสิ่งสำคัญ คือ การผ่อนคลายเมื่อผ่อนคลาย ทั้งร่างกาย และ จิตใจ นอนหลับได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ตื่นตอนเช้าก็สามารถสดชื่นได้ 


4. การนอนหลับ หรือไม่หลับ เป็น เรื่องธรรมชาติ (บังคับไม่ได้) แต่การผ่อนคลายร่างกาย และจิตใจ เป็นสิ่งที่เราเลือกได้ และการผ่อนคลาย เป็นสิ่งสำคัญ กับสุขภาพกาย และสุขภาพใจมากกว่าการพักผ่อน


5. สิ่งที่เป็นอุปสรรค ในการนอน คือ "ความคาดหวัง" ที่จะหลับ ให้สนิท หลับลึก ไม่ฝัน

ฝึกรู้ทัน และวางมันลง คือ เคล็ดลับของความสุข ในยามค่ำคืน รวมทั้ง เรื่องอื่นๆในชีวิตด้วย

การสร้างสมดุลของงบดุล ของชีวิต


6. การนอนไม่หลับ ไม่ใช่ หายนะ การตื่นกลางดึก ก็ไม่ใช่หายนะ เช่นกัน การไม่ผ่อนคลาย ความกดดัน และ การบังคับตัวเอง ให้หลับต่างหาก ที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพเมื่อใจและกาย ผ่อนคลายใน ตอนเช้าก็สดชื่นได้ แม้ไม่ได้นอน


7. การนอนหลับ ไม่ใช่หนทางเดียว ที่จะช่วยเยียวยา ร่างกายตอนกลางคืน การผ่อนคลาย การปล่อยวาง ทำใจ เข้าใจ ชนะใจ ตนเอง ต่างหาก ที่ช่วย เมื่อไม่ตั้งใจจะหลับ การหลับที่เป็นธรรมชาติเกิดขึ้นเอง โดยอัตโนมัติ


8. เมื่อไม่กลัว "การนอนไม่หลับ"

ชีวิตก็ง่ายขึ้นเยอะ นอนหลับหรือไม่หลับ จึงไม่เป็น ประเด็นสำคัญ ที่ทำให้เครียด กังวลอีกต่อไป การผ่อนคลายด้วยสมาธิจิตสงบดีที่สุด


9.สรุป ปัญหา "การนอนไม่หลับ" ไม่ใช่ปัญหา แต่วิธี "การคิด" และ "การพยายามที่จะหลับให้ได้”  ต่างหากที่เป็นปัญหา และเป็นเงื่อนไขที่เราสร้างขึ้นมาเองว่าต้องนอนหลับจึงจะดี


แต่การผ่อนคลายให้ปล่อยวางทั้งกายใจด้วยสมาธิและจิตเป็นกุศล จะทำให้เราสดชื่น


สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ย. 2559


CDชูศักดิ์ ไตรศรีศิลป์

Visitors: 172,071