ขออนุญาตโรงแรมกับเมืองพัทยา

ฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายจากการประวิงเวลา

คำฟ้อง ความผิดฐาน เมืองพัทยาไม่ตรวจสอบเอกสารตามคำขออนุญาต อ.1 รวมทั้งข้อกฏหมายให้เสร็จสิ้นใน 45 วันตามคู่มือประชาชน แต่กลับมีคำสั่งให้ยื่นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากการขออนุญาตนี้ขัดข้อกฏหมาย การให้ยื่นรายงานจะทำให้เกิดความสียหายจากค่าออกแบบและจัดทำรายงานผลกระทบฯ การส่งคืนคำขอ ภายใน 45 วัน ก็จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายใดๆ 

ช่วงที่ 2 หลังจากผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแล้ว กลับยังไม่ออกใบอนุญาต อ.1 ให้ ก็จะขาดค่าขาดโอกาสจากการขาย ค่าเช่า รวมทั้งค่าดูแลให้คงสภาพ เพิ่มเติมอีก รวม 34 เดือน (ตค 61 - มิย 64)

ช่วงที่ 3 ช่วงหลังจากการได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแล้ว (มิย 64) ถึงปัจจุบัน

ความผิดเกิดจาก 1. เจ้าหน้าที่เมือง ไม่ทำการตรวจสอบข้อ กม ใน 45 วัน ตั้งแต่ ปี 61

2. ไม่ปฏิเสธคำขอ ใน 45 วัน จนเกิดความเสียหาย (1) ทั้งจำนวน , (2) และ (3) เสียหายบางส่วน 

3. โจทก์ติดตามทวงถามมาตลอด แต่จำเลยบ่ายเบี่ยงเรื่อยมาโดยในภายหลังเมืองพัทยาให้เหตุว่า ต้องตรวจสอบข้อกฏหมายทั้งหมดอย่างละเอียดรอบคอบ แต่ในที่สุด แจ้งมาว่า "ขัด พรบ อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 17/1" ภายหลัง ฝ่าย กม เมืองพัทยา อ้างเพิ่มเติมว่า ผิด พรบ อาคารชุด มาตรา 10 ซึ่งหากขัดจริง ก็ควรส่งคืนคำขอแต่เนิ่นๆ จะได้เสียหายน้อย

หากขัด กม จะเกิดค่าเสียหายทั้ง 5 ข้อ

หากไม่ขัด กม ก็ยังมีความผิดฐานประวิงเวลาทำให้เกิดความล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็น จะเสียหายข้อ (3) (4) และ (5) เท่านั้น

ข้อต่อสู้ของจำเลย

1. โจทก์ได้แต่งตั้ง บริษัท ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมมาก่อนที่จะยื่นขออนุญาต (ก่อน ปี 2561)

2. มี กม ที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ จึงต้องตรวจสอบ ข้อกฏหมายด้วยความละเอียด รอบคอบ


ข้อเท็จจริง--- หลังยื่นขออนุญาต 8/8/61 เมืองมีคำสั่ง ให้นำส่ง รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม

----- ถ้าเมื่อปี 61 นายกเมือง โดยฝ่ายควบคุมอาคาร แผนกขออนุญาตก่อสร้างยื่นเรื่องให้ฝ่ายกฏหมายเมืองตรวจสอบก่อนว่า ผิด พรบ อาคารชุด หรือไม่ กรณี ที่มีข้อหารือ มหาดไทย 2547 ใน 45 วัน แล้วมีคำสั่งให้ คืนคำขอ โจทก์ก็จะไม่ติดใจ

-----หรือ หากตรวจสอบแล้วฝ่ายกฏหมายพบว่า อาจทำได้ แต่ไม่แน่ใจ ต้องการส่งขอหารือไปที่คณะกรรมการโยธาจังหวัด และ กรมที่ดิน โดยต้องใช้เวลาเพิ่ม ก็สามารถทำได้ โดยทำจดหมายแจ้งมายังผู้ขอฯเพื่อขยายเวลาได้อีก 2 ครั้ง ซึ่งหากคณะกรรมการควบคุมอาคาร และ กรมที่ดิน ตอบมาว่า ไม่สามารถทำได้เนื่องจากขัดเจตนารมณ์ของ กม ก็ให้ส่งคืนคำขอในขั้นตอนนี้ เพื่อให้ ผู้ขอฯยื่นอุทธรณ์คำสั่ง และหากคณะกรรมการควบคุมอาคาร จังหวัด ยืนยันว่าการพิจารณาต้องตามข้อเท็จจริง การอุทธรณ์ตกไป ทางผู้ขออาจยื่นฟ้องศาลปกครองต่อไป แต่ในเมื่อ เมืองพัทยาสั่งให้ไปดำเนินการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยที่ นายกเมืองพัทยา เป็นผู้อนุญาต และอยู่ในคณะกรรมการพิจารณา และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ผ่านความเห็นชอบ

ปัจจุบัน ปี 65 ยังไม่ได้รับใบอนุญาต อ.๑ โดยการอ้างว่า รอตอบขอหารือจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร จังหวัด และกรมที่ดิน จึงมิใช่เหตุอันควร 

การกระทำที่ผ่านมานั้น จึงผิด คู่มือประชาชน และ ผิด พรบ อำนวยความสะดวก รวมทั้ง ผิด พรฎ การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

การปฏิบัติขัดต่อคู่มือประชาชน ยังเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง ต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งๆที่ได้เข้าติดต่อสอบถามและแจ้งถึงความเสียหายมาโดยตลอดแล้ว

ซึ่งหากเมืองพัทยามีเจตนาบริสุทธิ์ เห็นว่า ไม่สามารถอนุญาตได้จริงแล้ว ทำไมถึงไม่ไประงับการก่อสร้าง และแจ้งความดำเนินคดี กับ Habitat ที่อยู่ตรงข้ามศาลาว่าการเมืองพัทยา และ มีป้ายโฆษณาเกินจริงนี้ เป็น Bill Board ขนาดใหญ่ ในหลายจุด ที่ได้โฆษณาเกินจริง ว่าเป็นโรงแรม จ่ายผลตอบแทน ซึ่งเมืองพัทยา เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ 

 (ผมได้ยื่นร้องศูนย์ดำรงธรรมให้เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว)

ค่าเสียหาย

(1) ค่าจัดทำรายงานผลกระทบ 850,000.- 

(2) ค่าเช่า ปี 61 ถึง ปัจจุบัน เดือนละ 180,000 รวม 8,640,000

(3) ค่าดูแล ปี 61 ถึง ปัจจุบัน เดือนละ 200,000 รวม 9,600,000

รวม 19,090,000.-

(4) โจทก์อัญชลี เสียหายค่าเสื่อมราคาอาคาร 4 ปี ปีละ 2 ล้าน รวม 8 ล้าน

(5) ค่าขาดโอกาสจากการขาย ลูกค้านักลงทุนมาขอซื้อ   200 ล้าน

รอลงอาญา!คุก1ปี6ด. อดีตนายก อบต.หลุมดินกับพวก'วงศ์ศักดิ์'เรียกเงินบรรจุ พนง.ราชบุรี
9 ตุลาคม 2565 
ป.ป.ช. เผยแพร่ความคืบหน้าผลคดี 'วงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์-พวก' เรียกเงินบรรจุพนง.ราชบุรี ล่าสุด ศาลอาญาคดีทุจริตประพฤติมิชอบภาค 7 พิพากษาลงโทษ จำคุก 1 ปี 6 เดือน 'สมาน องอาจ' อดีตนายก อบต.หลุมดิน แต่ได้รอลงอาญา  
สำนักข่าวอิศรารายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่ความคืบหน้าคดีกล่าวหา นายสมาน องอาจ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หลุมดิน อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี กรณีนายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กับพวก ถูกกล่าวหาบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานส่วนตำบลในเขตจังหวัดราชบุรี และขอใช้บัญชีเพื่อบรรจุแต่งตั้งนอกเขตจังหวัดราชบุรี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนระดับ 3 โดยมิชอบ 
ซึ่งถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา
ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 7  มีคำพิพากษาว่า นายสมาน องอาจ จำเลย มีความผิดตามมาตรา 157 
จำคุก 2 ปี และปรับ 20,000  บาท มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่คง จำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 15,000 บาท
โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มี กำหนด 3  ปี และให้คุ้มความประพฤติ จำเลยมีกำหนด 2 ปี
อย่างไรก็ดี สำหรับคดีนี้ยังไม่สิ้นสุด จำเลย มีสิทธิต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลที่สูงกว่านี้อีกได้
เบื้องต้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีการประชุมลงมติเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 เห็นชอบในการที่อัยการสูงสุด (อสส.) จะไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 7
สำหรับประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 157 ระบุว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เกี่ยวกับคดีนี้ สำนักข่าวอิศรา เคยรายงานไปแล้วว่า เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 7 มีคำพิพากษาลงโทษ นายประชุม พิมพ์โดด อดีตนายก อบต. สร้อยฟ้า จำเลยที่ 3 ว่า มีความผิดตามมาตรา 157 จำคุก 2 ปี  
จำเลยรับสารภาพคงจำคุก 1 ปี 6 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ 
ส่วน นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ จำเลยที่ 1 และ นายไพบูลย์ วรุณไพศาล จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ แยกฟ้อง 
โดย ป.ป.ช. มีมติรับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนเกี่ยวกับทุจริตการบรรจุแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานส่วนตำบลคดีนี้ เป็นทางการในช่วงต้นปี 2554 มีผู้ถูกกล่าวหา จำนวน 14 ราย ได้แก่ 1. นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ และ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี 2. นายนเรศ วงศาโรจน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งท้องถิ่นจังหวัดราชบุรี เลขานุการ ก.อบต. จังหวัดราชบุรี 3. นายสมาน องอาจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมดิน อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 4. นายสุพจน์ รัศมีโชติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลจอมประทัด จังหวัดราชบุรี 5. นายไพบูลย์ วรุณไพศาล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลเจดีย์หัก จังหวัดราชบุรี 6. นายประชุม พิมพ์โดด เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลสร้อยฟ้า จังหวัดราชบุรี 7.นางศมานันท์ เหล่าวณิชวิศิษฏ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี เมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 8. สิบตำรวจโท สุพัฒน์ ภูนาคำ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลนายเชือก จังหวัดกาฬสินธุ์
9. นายประสิทธิ์ เกษแก้วสถาพร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี 10.นายนิรันดร์ วัฒนศาสตร์สาธร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี 11. นายปรีชา ลินมา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี ตำบลป่าต้นนาครัว จังหวัดลำปาง 12. นายสำอางค์ บุญแจด เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลดงครั่งใหญ่ จังหวัดร้อยเอ็ด 13. นายสุริยะ ภิรมย์พร้อม นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี 14. นายเฉลิมชัย คงคาสวรรค์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลภูเขาทอง จังหวัดนครสวรรค์
ผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีดังนี้
1. นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ และ นายนเรศ วงศาโรจน์ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 91 มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือ ผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริต ต่อหน้าที่ราชการ ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือ นโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหาย แก่ราชการอย่างร้ายแรง และ ฐานกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็น ผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 82 วรรคสาม มาตรา 85 วรรคสอง และมาตรา 98 วรรคสอง
2. นายสมาน องอาจ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มีมูลความผิดฐานกระทำการฝ่าฝืน ต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพ ของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตาม หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและ องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 92
3. นายสุพจน์ รัศมีโชติ นายไพบูลย์ วรุณไพศาล และนายประชุม พิมพ์โดด มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มีมูลความผิดฐานกระทำการฝ่าฝืน ต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพ ของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตาม หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การ บริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 92
4.นางศมานันท์ เหล่าวณิชวิศิษฏ สิบตำรวจโท สุพัฒน์ ภูนาคำ นายประสิทธิ์ เกษแก้วสถาพร นายนิรันดร์ วัฒนศาสตร์สาธร นายปรีชา ลินมา นายสำอางค์ บุญแจด นายสุริยะ ภิรมย์พร้อม และ นายเฉลิมชัย คงคาสวรรค์ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มีมูลความผิดฐานกระทำการฝ่าฝืนต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพ ของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตาม หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและ องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 92
ก่อนที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะส่งสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงไปยัง ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนเพื่อ ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ และ ไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณา โทษทางวินัย และไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาตามขั้นตอนทางกฏหมาย
Visitors: 172,072